เว็บบอร์ดห้องสนทนา CBR250///// 10 ข้อแนะนำในการหาซื้อ Bigbike มือสอง /////
ผู้เขียน : DumasiDumrong Radchasri   หัวข้อ : ///// 10 ข้อแนะนำในการหาซื้อ Bigbike มือสอง /////อ่าน 3479 / ความคิดเห็น 1
รูปประจำตัว
DumasiDumrong Radchasri
  • 26 กระทู้ที่เริ่มไว้
  • 16 กันยายน 2555
รูปไอคอน
หัวข้อ : ///// 10 ข้อแนะนำในการหาซื้อ Bigbike มือสอง /////
10/12/2556 20:23:00

  10 ข้อแนะนำในการหาซื้อ Bigbike มือสอง

แน่นอนครับว่ามอเตอร์ไซค์บิ้กไบค์มีราคาแพงกว่ามอเตอร์ไซค์ธรรมดา ทำให้ความนิยมในการเล่นมอเตอร์ไซค์บิ้กไบค์มือสองนั้นมีมาก การหาซื้อส่วนใหญ่จึงมักจะนัดเจอแล้วดูรถกันก่อน สำหรับมือใหม่แล้วจึงควรระมัดระวังในการเลือกซื้อมอเตอร์ไซค์เหล่านี้เพราะซื้อมาแล้วอาจจะหาที่ซ่อมยาก ช่างก็มีน้อย แถมอะไหล่แต่ละชิ้นก็มีราคาแพงอีกด้วย

ปกติแล้วการซื้อหาควรจะได้รถที่อยู่ในสภาพดีสมราคา ไม่มีร่องรอยสนิมให้เห็น หารุ่นที่ดีที่สุดให้เจอแล้วตั้งเป้าให้สูงไว้ก่อนและพยายามทำตามข้อแนะนำต่อไปนี้แล้วท่านจะไม่ผิดหวังครับ

รู้ตลาดเป็นอย่างดี

ก่อนซื้อหาอย่าลืมใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลให้ได้มากที่สุดก่อนนะครับ เมื่อได้มอเตอร์ไซค์คันที่สนใจแล้วก็เริ่มหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ไปตามเว็บบอร์ดต่างๆ อ่านเรื่องราวที่คนพูดถึงเกี่ยวกับมอเตอร์ไซค์รุ่นนั้นๆ ลองตั้งคำถามในเว็บบอร์ดเหล่านั้นหรือเว็บพันทิพว่า รุ่นนี้มีข้อดีข้อเสียอะไร ลองโทรไปหาดีลเลอร์ใกล้บ้านแล้วถามข้อมูลทางเทคนิคดูเช่นว่ารุ่นปีนี้มีเลขอะไรกำกับ รุ่นไหนเป็นรุ่น limited เป็นต้น หาสมุดมาหนึ่งเล่มแล้วจดข้อมูลต่างๆเอาไว้เพื่อไว้เปิดดูได้ง่ายๆ

พยายามตามไปอ่านโฆษณาที่ลงประกาศรถรุ่นที่เราสนใจ จะได้รู้รุ่นปีนั้นๆเขาขายกันอยู่ที่เท่าไหร่ ถ้ามี ABS แพงกว่ากันเท่าไหร่ ไมล์ที่ประกาศส่วนใหญ่จะเป็นเท่าไหร่ ลองอ่านดูเผื่อว่าเวลามีอะไรผิดปกติจะสังเกตุได้ง่าย เคยมีการเรียกคืนจากโรงงานไปซ่อมแซมอะไรหรือไม่

สรุปสั้นๆคือ ก่อนซื้อเราต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในรถคันนั้นก่อน ควรจะรู้ในสิ่งที่ควรรู้ให้หมดเพื่อที่ว่าเวลาไปเจอคันเป็นๆจะได้มองออกว่าเจ้าของเก่าพยายามซ่อนอะไรอยู่

ถามคำถามให้เยอะที่สุด

หลังจากหาเจอประกาศขายคันที่เราสนใจแล้ว ก็ให้โทรหาเจ้าของด้วยรายการคำถามมาตรฐานและจดไว้ พร้อมข้อมูลของเราเองอยู่ในมือ จะได้ช่วยให้เราตัดสินใจได้เลยว่าควรจะถามต่อหรือวางหู

ตัวอย่างคำถามที่ควรถามไว้ก่อน เผื่อไปเจอมอเตอร์ไซค์ตัวจริงแล้วจะได้รู้ว่าเจ้าของเขาบอกความจริงมากน้อยแค่ไหน

รถคันนี้เคยชนหรือเปล่า รุนแรงแค่ไหน
ผ่านมือมาแล้วกี่คน ถ้ามีเจ้าของหลายคนโอกาสสูงที่จะมีปัญหาเยอะเลยมีการขายทิ้งกันเป็นทอดๆ
รถอินวอยส์ รถจดประกอบหรือทะเบียนแท้ ซื้อจากที่ไหน ใครนำเข้า
ติดไฟแนนส์อยู่หรือเปล่า
มีการบำรุงรักษาเป็นอย่างไร ใครทำ ร้านไหน
มีการดัดแปลงอะไรหรือเปล่า ชิ้นส่วนเดิมยังอยู่ไหม จะให้มาด้วยหรือเปล่า

มอเตอร์ไซค์ที่จอดแล้วล้มมีรอยบิ่นอาจจะพอซื้อได้ แต่มอไซค์ที่เคยชนหนักมาก่อนแล้วเอามาทำใหม่แล้วมาประกาศขายนี่ควรจะหลีกเลี่ยง

พยายามโทรถามข้อมูลให้ได้ละเอียดที่สุดในแง่ของสภาพรถและประวัติของเราเพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปดู และอย่าลืมจดรายการเอาไว้ว่าได้ข้อมูลอะไรมาบ้าง เพื่อไว้ตัดสินใจว่าจะไปดูคันไหนบ้าง

ตรวจสอบเอกสาร

หลังจากตัดสินใจไปดูรถคันที่ต้องการแล้ว ยังไม่ต้องดูตัวรถให้เสียเวลา เพราะหากดูไปแล้วชอบแต่ปรากฏว่าเอกสารไม่พร้อมก็ซื้อไม่ได้อยู่ดี เสียเวลาเปล่า ดังนั้นให้ขอดูเอกสารก่อนเลย

หมายเลขตัวถังและหมายเลขเครื่องยนต์ควรจะตรงกับในเอกสาร หากไม่รู้ว่าอยู่ตรงไหนของรถเนื่องจากลืมค้นทางอินเตอร์เน็ตมาก็ถามคนขายเลย ถ้าเขาเองก็ไม่รู้ว่าอยู่ตรงไหนก็แสดงว่าเป็นหน้าม้าที่ขายรถให้กับเต้นท์อีกทีหนึ่ง เขาก็อาจจะทำทีโทรถามเจ้าของรถเองอีกทีให้ระวังเอาไว้ อย่าลืมตรวจสอบที่อยู่ในเอกสารว่าตรงกับที่เราไปดูหรือไม่ หากเป็นที่อยู่คนละที่ก็ควรจะมีเอกสารอื่นๆ เช่นจดหมายส่วนตัวมาแสดงว่าเขาอยู่ที่นั่นจริงๆ

จดหรือถ่ายรูปข้อมูลเหล่านั้นไว้จะได้เอามาตรวจสอบกับขนส่งทีหลังว่าเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ ทุกอย่างควรจะไม่มีข้อผิดสังเกตุ อย่าไปสนใจกับข้อแก้ตัวที่เขายกมาร้อยแปดหากพบเจอสิ่งผิดปกติ จ้องหน้าตรงๆแล้วสังเกตุพิรุจ ถ้าดูเอกสารแล้วไม่ค่อยน่าเชื่อก็พยายามขอตัวกลับบ้าน เช่นโทษทีลืมไปว่าต้องไปรับเมียรับลูกทำนองนั้น

ตรวจสอบมอเตอร์ไซค์จากระยะไกล

มอไซค์บิ้กไบท์มีราคาแพงต้องตรวจสอบกันมากหน่อย เริ่มต้นโดยการหาที่สว่างๆ โล่งๆ สภาพอากาศดีๆ หรือในอู่ที่ไฟสว่างๆ ถอยมาให้ห่างจากตัวรถแล้วเดินดูให้รอบคันก่อนที่จะเข้าไปดูรถใกล้ๆ คุณจะมีโอกาสสังเกตุเห็นความผิดปกติได้ง่ายจากระยะไกลเช่น เฟรมย่อยบิดตัว แนวถังน้ำมันด้านซ้ายและขวาไม่ตรงกัน เราจะเห็นได้ชัดกว่าการไปดูใกล้ๆ

ตรวจสอบว่าแนวล้อทั้งสองล้อตรงกันหรือไม่โดยให้ใครสักคนไปนั่งบนมอไซค์แล้วถือคันบังคับให้ตรงแล้วคุณก็เดินถอยไปซัก 3 เมตรไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าหรือด้านหลัง เพื่อดูว่าล้อหน้าตรงกับล้อหลังหรือไม่ มีการบิดเบี้ยวหรือเปล่า ถ้ามีไม้กระดานอยู่ใกล้ๆก็ลองเอารถไปจอดทาบดู อาจจะเป็นวิธีเก่าๆแต่ได้ผลเสมอ

จากนั้นก็เข้ามาใกล้ตัวรถแล้วดูว่ามีส่วนใหนบิดตัว รอยข่วน หรือขาดชิ้นส่วนใดไปบ้าง หัวน้อตต่างๆยังอยู่ดีหรือไม่หรือว่าหัวน้อตโดนยำจนเละด้วยเครื่องมือราคาถูกไปแล้ว ถ้าเจอสิ่งเหล่านี้ก็อาจจะต้องขอตัวอย่างสุภาพอีกรอบ ถ้าราคามอเตอร์ไซค์นั้นสูงคุณภาพของรถก็ต้องสูงด้วย

ตรวจสอบวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ

ตรวจสอบคุณภาพของยาง จานเบรก เฟือง เพราะการเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้ราคาใช่ว่าจะน้อยๆ แต่ละอย่างเข้าหลักพันทั้งนั้น

สังเกตุว่าหากขอบล้อมีรอยบิ่นมากแสดงว่ามีการเปลี่ยนยางมาแล้วหลายเส้น ต้องคิดให้ดีหากเจ้าของบอกว่าวิ่งน้อย

ตรวจดูโซ่รถว่ามีสนิมขึ้นมากน้อยแค่ไหน ยางที่ดูไม่ดีแสดงว่าเจ้าของไม่ค่อยดูแลเท่าไหร่ เอาไว้เป็นข้อต่อรองในการลดราคา

จานเบรกควรอยู่ในสภาพดีไม่เป็นรอยผิดสังเกตุ หรือบิดงอ หากไม่แน่ใจว่าจะดูยังไงอย่าลืมพาเพื่อนไปช่วยดูด้วย

ติดเครื่องแล้วฟังเสียง

มอเตอร์ไซค์รุ่นใหม่ๆมักจะมีความคงทนและเชื่อถือได้สูง แต่อย่าลืมฟังเสียงเครื่องยนต์ว่ามีเสียงเหมือนชิ้นส่วนกระทบกันหรือเปล่า มีเสียงเหมือนอะไรเคาะเป็นระยะๆหรือไม่ ดูว่ามีรอยน้ำมันรั่วหรือไม่ สังเกตุดูความเนียนของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ว่ามีรอยอุดรอบปะรอยเชื่อมหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องขอตัว

บอกให้เจ้าของสตาร์ทรถ ฟังเสียงท่อไปเสีย เอามือปิดปลายท่อก่อนที่ท่อจะร้อนเพื่อเพิ่มแรงดันในท่อแล้วสังเกตุว่ามีอะไรรั่วซืมเกิดขึ้นหรือไม่

การพาเพื่อนไปด้วยตรงจุดนี้เพื่อนจะช่วยได้เยอะเพราะให้เพื่อนอุดท่อไว้เราก็จะได้ไปดูเครื่อง

ถ้าเป็นไปได้ควรจะสตาร์ทรถจากภาวะเครื่องเย็น หากไปถึงเครื่องสตาร์ทรออยู่แล้วก็บอกให้เขาปิด ถ้าเขาอิดออดไม่ยอมรอให้เครื่องเย็นแสดงว่าต้องมีอะไรผิดสังเกตุ เสียงโซ่ดังจะหมดไปเครื่องร้อน สังเกตุความแตกต่างระหว่างเสียงระหว่างเครื่องร้อนกับเย็นว่ามีอะไรโดดเด่นหรือไม่

ตรวจสอบแบริ่งด้านหน้า

กำเบรกหน้าไว้แล้วเร่งปล่อยๆเครื่องยนต์เพื่อเขย่ามอเตอร์ไซค์ในแนวหน้าหลัง แล้วสังเกตุดูว่าแบริ่งตรงด้านหน้านั้นมีเสียงกระแทกกับแฮนด์หรือไม่ เพราะหากมีเสียงดังแก้กๆ แสดงว่าอาจจะต้องเปลี่ยนซึ่งราคาก็แพงเอาการอยู่ แม้จะไม่ใช่ประเด็นหลักแต่การเข้ารับการบำรุงรักษาที่ดีนั้นจะเป็นตัวบอกได้ดี

การเขย่ารถวิธีนี้ก็ถือเป็นการดีในการตรวจสอบตะเกียบหน้าว่ามีรอยรั่วหรือไม่ เป็นบริเวณที่ตะเกียบหน้ามันวาวจมลงไปในโช้ค ถ้ามีอาการรั่วก็ต้องมีการซ่อมแซมก่อนที่จะนำมาขับขี่ราคาก็หลักพันเช่นกัน

ตรวจสอบระบบไฟ

ตรวจสอบระบบไฟให้ถ้วนทั่วว่าทำงานปกติหรือไม่ ทั้งไฟหน้าไปท้าย ไฟเลี้ยว ไฟบนแผงหน้าปัทว์ แตรร์ การตัดการทำงานเครื่องยนต์เมื่อเอาแสตนด์ข้างลง และทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า

การเดินสายไฟที่ไม่ถูกต้องนั้นยากที่จะแก้ไข และอาจจะหมายถึงการผ่านการซ่อมใหญ่มาแล้ว ถ้ามอเตอร์ไซค์มีหน้าจอแบบซับซ้อน มีระบบวัดระยะทางอะไรต่างๆ ก็ตรวจสอบว่าทุกอย่างทำงานได้ดี เพราะราคาก็แพงเช่นกัน

และหากรถมีระบบกันขโมยแบบทันสมัยอย่าลืมตรวจสอบว่ากุญแจสำรองมีให้ครบ เพราะหากทำกุญแจหายก็เป็นฝันร้ายเลยทีเดียว

ตรวจสอบให้ทั่วและเกรงใจเจ้าของรถ

ถ้าเจ้าของยอมให้คุณทดสอบรถได้ ก็ต้องตกลงกันเรื่องความเสียหายก่อนเช่นใครรับผิดชอบ รถมีประกันหรือไม่ หรือคุณจะเป็นคนนั่งซ้อนท้าย อย่าลืมว่าถ้าเจ้าของยอมให้ทดลองขับเขาอาจจะขอถือกุญแจรถคุณไว้หรือต้องวางเงินมัดจำหากเป็นร้านค้า

หาถนนโล่งๆเพื่อทดสอบระบบเบรกและการควบคุมการเลี้ยวรถ ทดลองเข้าเกียร์ทุกเกียร์หลายๆรอบ หากคุณเป็นมือใหม่อยากซื้อรถใหญ่มือสองก็อาจจะต้องวานให้เพื่อนที่เป็นผู้รู้มาช่วยขับ อย่าลืมเลือกคนที่ไว้ใจได้

และสุดท้ายอย่าลืมเกรงใจเจ้าของรถเวลาทดสอบ เพราะมอเตอร์ไซค์คันนี้ยังไม่ใช่ของคุณ

** ต่อรอง  **

มีมอเตอร์ไซค์รุ่นเดียวกันแบบเดียวกันประกาศขายอยู่มากมาย ดังนั้นอย่ากดดันตัวเองให้ซื้อคันที่เห็นอยู่ตรงหน้า


ถ้าหากคุณพอใจกับสิ่งที่คุณเห็นและตรวจสอบทุกอย่างจนมั่นใจแล้ว อาจจะกลับไปคิด ไปโทรเช็คกับขนส่ง แล้วอาจจะนัดมาเจอหน้าต่อรองราคากันอีกรอบหากรถยังอยู่

การต่อรองควรจะทำเมื่อคุณมั่นใจ 100% ว่าเอารถคันนี้แน่ ไม่ใช่พอต่อรองได้แล้วไม่เอา ไม่มีใครอยากมาเสียเวลาเสียความรู้สึกหรอกครับ

พยายามทำตัวเป็นกันเอง เจ้าของมักจะลดราคาให้บ้างหากคุยกันถูกคอ หากคุณไปติติงรถเขาเพื่อต่อราคาให้ต่ำลงอาจจะโดนด่าไล่หลังกลับมาได้ นี่คือจุดที่การทำการบ้านของคุณจะเป็นตัวช่วย อาจจะพูดว่า ผมชอบมอเตอร์ไซค์คันนี้มากแต่ราคาสูงไปหน่อย เป็นการเริ่มต้นบทสนทนาที่ดี

พยายามแสดงความคิดเห็นของคุณโดยการอธิบายตรงไปตรงมาว่าทำไมคุณคิดว่าเจ้าของควรลดราคาลงต่ำกว่านี้ เอาสมุดโน้ตออกมาดูรายการรถคันอื่นๆที่คุณกำลังจะไปดูว่าราคาประมาณไหน สภาพประมาณไหน เป็นการแสดงให้เห็นว่าคุณทำการบ้านมาดี ไม่ใช่กะมาต่อให้ได้ราคาถูกๆเพียงอย่างเดียว บางทีเจ้าของอาจจะขอดูข้อมูลคุณแล้วโทรไปเช็คราคากับคนขายคนอื่นๆด้วยก็ได้

แต่ก็นั่นแหละเตรียมตัวโบกมือลาหากคุณไม่แฮปปี้กับดีลนั้นๆ ทิ้งเบอร์โทรไว้ให้คนขายได้ตัดสินใจว่ายินดีจะรับราคาคุณหรือเปล่า เขาอาจจะรออีกสองสามคนมาดู ถ้าทุกคนไปทางเดียวกันเขาอาจจะติดต่อกลับมาที่คุณเพราะคุณพูดจาดีที่สุดก็เป็นได้

ขอให้โชคดีกับการหาซื้อมอเตอร์ไซค์ Bigbike มือสองนะครับ

เครดิค http://mocyclover.com


2. งบประมาณ เท่าไหร่?
   อันนี้ต้องแล้วแต่ทรัพย์ในกระเป๋า ว่าหลังจากได้ประเภทรถที่ชอบแล้ว ก็ต้องหาข้อมูล ว่าราคาอยู่ในช่วงต่ำสุด- สูงสุดเท่าไหร่ จะได้เตรียมเงิน

ให้พร้อม แต่คงต้องหมายความรวมถึง ค่าอุปกรณ์การขับขี่ด้วยส่วนนึง นอกเหนือจากราคารถ และอาจต้องเพื่อค่าซ่อมเบื้องต้นเอาไว้ด้วย
   การที่รถรุ่นเดียวกันราคาไม่เท่ากัน อาจเพราะ สภาพรถ อุปกรณ์ตกแต่ง  หรือช่วงภาวะการตลาด เช่นฤดูหนาวรถจะแพงกว่าฤดูอื่นๆฟังดูตลก

แต่จริงแล้วมันมีความเกี่ยวพันกันก็คือมันเป็นช่วงที่คนหารถเที่ยวกันเลยทำให้ความต้องการมันมีมากกว่าปกติในขณะที่หน้าฝนคนขายรถด้วย

หลายสาเหตุเช่นเปลี่ยนรุ่นใหม่เพราะมีรถปีใหม่เริ่มเข้ามาแล้วหรือรถที่ช้ำจนหมดสภาพจากการเที่ยวเมื่อหนาวที่แล้วขี้เกียจซ่อมเปลี่ยนใหม่ดีกว่า

  

3.ยี่ห้อฟังดูเหมือนตลกแต่ในความเป็นจริงมันมีผลต่อเนื่องคือถ้าเสียละคุณจะซ่อมที่ไหนเพราะบางยี่ห้อมีศูนย์เป็นของตนเองทำให้ลดความเสี่ยง

ลงได้สำหรับคนที่มีงบเหลือเฟื้อส่วนคนที่งบน้อยยิ่งต้องดูว่าเราพอจะหาอะไหล่จากแหล่งไหนได้บ้างเพราะถ้าคุณไม่มีความรู้หรือไม่มีกลุ่มเลยโอกาสที่จะถูกฟันมีสูงมากๆ

บางยี่ห้อบางรุ่นหาตัวมันเป็นๆยังยากเลยนับประสาอะไรกับชิ้นส่วนอะไหล่

 

4. สถานที่จะไปออกรถ?
   - รถบ้าน ในที่นี้หมายถึงรถที่เจ้าของประกาศขายเอง ไม่ได้ผ่านนายหน้าหรือร้านค้าโดยดูจากประกาศตามเน็ตหรือหนังสือ
   - รถที่ร้าน  ความหมายบอกในตัวแล้วว่า ต้องไปซื้อที่ร้าน ร้านค้าซื้อจากประเภทแรกหรือรถจากโกดัง แล้วเอามาปรับปรุงสภาพให้ดีขึ้น แล้ว

เอามาตั้งราคาใหม่ 
อธิบายเพิ่ม

รถบ้าน
           ข้อดี   1. ราคาโดยส่วนมากถูกกว่ารถหน้าร้าน
                   2. ต่อรองราคาได้มาก แล้วสามารถคุยกับเจ้าของได้โดยตรง ทราบประวัติรถ
                   3. สามารถเห็นสภาพเดิมได้ 
           ข้อเสีย
                   1. ราคาถูกก็จริงอยู่แต่อาจต้องทำเพิ่มเติมเยอะมากกว่าที่คุยกันไว้ก็ได้ , ไม่มีรับประกัน
                   2. การต่อรองราคา ถ้าได้รับความจริงใจจากผู้ขายก็จะโชคดี  แต่ถ้าผู้ขายไม่บอกความจริง แล้วเราซื้อมา หากต้องซ่อม

แซมมากๆจะไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้เลย

 
 


รถหน้าร้าน 
           ข้อดี 1. รถเก็บงานมาแล้ว ปรับปรุงสภาพเครื่องยนต์ อุปกรณ์ ทำสีใหม่แล้ว
                 2. รับประกัน ตามแต่จะตกลง
          
           ข้อเสีย ..ไม่เห็นสภาพเดิมๆเพราะเก็บงานมาแล้ว ถ้าเป็นร้านที่รับผิดชอบก็โชคดีไป แต่ถ้าเป็นการย้อมแมว ผู้ซื้อจะสังเกตุได้ยาก ส่วน

ใหญ่จะไม่เห็นจุดบกพร่อง

 
5. เทคนิคและวิธีการเลือกซื้อ
ข้อสังเกตุเบื้องต้น....
      1.เล่มทะเบียน  ตรงกันกับรถ ดูเลขเครื่อง - เลขคอที่ระบุในเล่มให้ตรงกับรถ ส่วนเลขเครื่องและเลขคอไม่จำเป็นต้องเหมือนกันก็ได้ครับ เพราะ

ประกอบจากอะไหล่เก่า จึงอาจไม่เหมือนกันได้ ข้อปลีกย่อยอื่นในภาวะปัจจุบันคือ ทะเบียนสวม หรือ ทะเบียนแท้ อันนี้ต้องขอรายละเอียดจาก

เจ้าของเดิมด้วยถ้าจะให้ดีเราควรศึกษาก่อนว่ารุ่นนี้เลขของมันคืออะไรจะได้ไม่ถูกหลอกและดูตัวเลขว่ามีรอยอะไรไหมเพราะบางทีอาจเจอการ

ตอกที่เนียนๆมา

      2.ชุดโอน ทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน ครบ หรือในกรณีที่เป็นอินวอย ก็ต้องมีใบเสร็จตัวจริง เครื่อง - เฟรม และเอกสารควบอื่นๆครบ
      3.เขียนสัญญาซื้อ-ขายด้วย จะดีมาก ถ้าจะให้ดีจูงมือกันไปโอนพร้อมจ่ายเงินที่ขนส่งได้จะดีที่สุดเพราะมันใจว่าได้ทะเบียนแท้ๆแน่ในกรณีรถมี

ทะเบียน
 
 
      4. เดินดูรอบๆรถ โดยรวม...
- ชุดสี แฟริ่งด้านนอกอาจมองไม่เห็น แต่ด้านในอาจมีรอยเชื่อมพลาสติกบ้างเล็กน้อย ไม่เป็นปัญหา แต่ให้สังเกตุ ช่วงตัวยึดน๊อต ขายึดในจุด

ต่างๆ โดยเฉพาะด้านหน้า ว่ามีรอยเชื่อมมากรึเปล่าว หลายจุดมั๊ย อันนี้บอกได้ถึงการเกิดอุบัติเหตุ ว่าชนมาแล้วมากน้อยแค่ไหน , เหล็กยึดโครง

หน้ากากด้านหน้าก็เช่นเดียวกัน และที่สำคัญถ้าเป็นไปได้ ได้แฟริ่งเดิมๆมาจะดีมากๆ เพราะแสดงว่ารถคันนี้ยังไม่ช้ำจากการเกิดเหตุเพราะส่วน

ใหญ่รถที่เปลี่ยนแฟริ่งแต่งคือชนแล้วหาอะไหล่ไม่ได้

- เฟรม สีอลูมิเนียมเดิมๆ ไม่ทำสีจะดีที่สุด โดยมากถ้าไม่เคยเกิดอุบัติเหตุรุนแรง การทำสีเฟรมมักจะเป็นทางเลือกสุดท้ายในการปกปิดร่องรอย 

ส่วนใหญ่แม้ว่าจะเคยมีอุบัติเหตุมาบ้าง หากมีรองรอยที่เฟรมบ้างไม่เยอะนัก จะไม่ใคร่มีใครทำสีกันยกเว้นบางรุ่นที่มีการพ่นสีเฟรมมาจากโรงงาน

เราอาจต้องหาข้อมูลนิดหน่อยก่อน
- เครื่องไม่มีคราบเยิ้มน้ำมันตามรอยปะเก็น
- สายไฟแม้ว่าจะเป็นส่วนที่มองเห็นไม่ได้ชัดเจนนัก แต่ในส่วนที่มองเห็น น่าจะอยุ่ในสภาพที่เก็บงานมาแล้ว จัดระเบียบมาได้เรียบร้อยไม่ควร

มีการต่อเชื่อมในหลายๆจุดแต่บางที่รถบางรุ่นก็ค่อนข้างยากที่จะได้มาในสภาพดีๆเพราะตามอายุของรถทำให้มีการเสื่อมสภาพไปเวลา
- ปลายท่อแห้ง เขม่าสีเทาๆ ถ้าสีออกดำก็แสดงว่ากรองอาจตันหรือหมดสภาพแล้ว ( อันนี้เล็กน้อย รับได้ )
- ลองสตาร์ทดูว่าติดง่ายหรือไม่ ถ้าเป็นไปได้ลองตอนที่เครื่องเย็นๆจะดีมากทดสอบ เปิดไฟหน้า ไฟเลี้ยว ไปเบรค ไฟหน้าปัดเรือนไมล์ยังใช้

งานได้ครบ อยู่รึเปล่าว 
- ลองคร่อม โยกรถ(กำเบรคหน้า) ลองเด้งหลังโดยใช้น้ำหนักตัว ว่าโอเคมั๊ย โช๊คหน้า แกนต้องไม่เป็นรอยลึกๆ(รอยครูคยาวๆ) รอยหลุมตามด

เล็กๆ ไม่มีคราบน้ำมัน- โช๊คหลังต้องไม่เด้งขึ้นแรงๆทันที  ต้องมีความหนืดของโช๊คด้วย ทำนองว่ากดลงแล้ว ค่อยๆเด้งขึ้น

 - ลองเดินเบาซักพัก แล้วเบิ้ลรอบเครื่องยนต์แรงขึ้นอีกนิด ดูความราบเรียบของรอบเครื่องยนต์
 - เครื่องเดินเบาราบเรียบ ไม่กระตุก หรือไม่นิ่ง โดยปรกติถ้าสตาร์ทใหม่ๆรอบเครื่องอาจจะแกว่งๆ ไม่นิ่ง แต่ถ้าปล่อยให้เครื่องยนต์ทำงานต่อ


ไปอีกซักพัก รอบเดินเบาจะคงที่ขึ้น,

- ต้องไม่มีเสียงประหลาดๆ ก๊อกๆ แก๊กๆ หรือเสียงวีดตามรอบเครื่องยนต์ ยกเว้นในกรณีรถSuzuki ที่เอกลักษณ์เสียงเครื่องยนต์อาจดัง

มากกว่ายี่ห้ออื่น หรือ คาร์บูร์แฟลตสไลด์

- ถ้าบังเอิญสตาร์ทแล้วมีควันขาว อย่าเพิ่งตกใจ อาจจะเพราะไม่ได้สตาร์ทมานานแล้ว ก็ให้เดินเบาซักแป็บนึง ลองเปิ้ลรอบดู ถ้าปรกติ เดี๋ยวมัน

จะค่อยๆจางไปหรือไม่มี แต่ถ้านานแล้ว เบิ้ลรอบยังมีควันออกมาตลอด ไม่น้อยลงก็อาจเป็นปัญหาที่เครื่องยนต์  แล้วในกรณีที่ไม่สามารถติด

เครื่องได้ อันนี้ลำบากในการดูมาก อย่างน้อยควรได้ฟังเสียงการทำงานของเครื่องยนต์จะดีที่สุด

- ให้ลองขี่ดูเลย ถ้าไม่ให้ลองขี่อย่าซื้อนะครับ แล้วการลองอย่างน้อยคนซื้อต้องสามารถที่จะรับผิดชอบโดยการซื้อเลยถ้าเอารถไปล้ม ฉะนั้นก่อน

ลองรถต้องชั่งใจก่อน ว่าเรารับผิดชอบได้รึเปล่าว ควรลองรถแบบมีระยะทางมากหน่อย ลองใช้เกียร์หลายๆเกียร์ ทดลองงัดขึ้น-ลง ถ้าปรกติอาการ

เกียร์แข็งจะไม่มี ใช้ความเร็วมากขึ้นนิดหน่อย เครื่องถ้าร้อนแล้ว แม้ว่าจะไม่ได้ใช้งานมานานแต่ถ้าปรกติควันจะน้อยลงมาก แล้วในกรณีที่

สตาร์ทไปซักพักแล้ว เอามือไปอังที่ปลายท่อแล้วมีความชื้นหรือละอองน้ำกระเด็นออกมา แสดงว่าเครื่องมีความฟิตมาก จนควบแน่นกลายเป็น

หยดน้ำ (ดีมาก)

- ทดลองเบรคหน้า-หลัง ไม่ต้องแรงมาก็ได้เดี๋ยวรถล้ม ให้ทดลองลองขี่วนๆ กลับรถ เดินหน้า-ถอยหลัง จะให้เจ้าของซ้อนไปด้วยก็ได้ หรือถ้า

อยากเทสคนเดียวเพื่อความสบายใจของเจ้าของรถ ผู้ซื้อจะให้กระเป๋าสตางค์ , บัตรประชาชน , เอกสารอื่นของเราไว้ เพื่อความสบายใจของทั้ง2

ฝ่าย เพราะเคยเกิดเหตุกรณี ลองรถแล้ว ขโมยไปเลยก็มี

- โซ่ สเตอร์ ยาง อย่างน้อยควรจะยังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ ถ้ายังดีอยู่ก็อาจไม่ต้องต่อรองมาก แต่ถ้าไม่อยุ่ในสภาพที่ดีแล้ว อาจจะขอต่อรองราคา

ลงหน่อย แล้วเราค่อยไปเปลี่ยนเอาเองก็ได้ แต่ต้องคำนวนราคาไว้แล้วจะได้รู้ยอดรวมคร่าวๆโดยประมาณ เรื่องสีสรรค์ภายนอกขอให้มองเป็น

ประเด็นรองครับ ให้ดูเครื่อง เฟรม ไว้เป็นหลักนะครับ

 
 6. การตัดสินใจ?

 แนะว่า อย่าเพิ่งใจร้อน ให้ดูละเอียดๆ ดูหลายๆคัน หลายๆที่ เว้นแต่ว่า คันที่กำลังดูอยู่สภาพดีมาก พอใจแล้ว ก็ต่อรองราคาได้เลย เพราะถ้ายัง

ไม่ตัดสินใจ หลังวันนี้อาจหลุดลอยไปก็ได้ เป็นไปได้ให้พาเพื่อนไปดูด้วยกัน จะได้ไม่ถูกชักจูงได้ง่ายๆ
 ควรจะศึกษาหาข้อมูลรถที่สนใจไว้ก่อน เช่นเลขเครื่อง เลขเฟรม อุปกรณ์ต่างๆในรถ ปั้มเบรค ที่บอกอย่างนี้ ยกตัวอย่างHonda SF400 

ผลิตออกมาหลายรุ่นมาก เครื่องมีแบบครีบเต็ม ครีบไม่เต็ม ปั้มNissin Brembo สารพัด ต้องรู้มากๆไว้ก่อน โอกาสที่จะถูกหลอกจะได้น้อยลง 
รถบ้าน...ในบางกรณี แม้ว่าจะซื้อได้ในราคาที่ถูกกว่าหน้าร้านมาก หลายบาท อาจเป็นหลักพัน หรือหลักหมื่น แต่ต้องคำนึงด้วยว่า สภาพที่เรา

ต่อรองราคาได้ (ตามสภาพ ) หากเราตกลงซื้อมาแล้วเราต้อง เอามาปรับปรุงอะไรบ้าง ราคาอะไหล่แต่ละรายการราคาเท่าไหร่ ทดลองจดรายการดู

ว่าราคารวมๆแล้วเท่าไหร่ เพราะบางที เผลอๆราคารถ+ค่าบำรุงรักษาอาจจะแพงกว่ารถหน้าร้านก็ได้


7. การต่อรองราคา?

แม้ว่าในกรณีซื้อ-ขายจะเป็นการตกลงราคาระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย แต่ราคาควรจะพอเหมาะพอสม อันนี้อธิบายเป็นกลาง ผู้ขายก็อยากขายได้

ราคาตามอย่างที่ตั้งใจไว้ อาจจะเท่าทุนหรือกำไรบ้างมาก-น้อย ส่วนผู้ซื้อก็อยากซื้อได้ราคาถูกตามงบประมาณ ถูกได้เท่าไหร่ ยิ่งมากยิ่งดี แต่ทั้งนี้ 

แนะว่าผู้ซื้อถ้าเห็นรถ สภาพ พอเหมาะสมกับงบประมาณแล้ว หากรับได้ก็ไม่น่าที่จะต่อรองกันจนมากเกินไป บางครั้งจนเหมือนกับการกดราคา 

ในวงการรถใหญ่นั้น แคบมาก ใครซื้อ ใครขายอะไร ไม่นานก็มีคนทราบหมด การซื้อขายบางครั้งก็ทำให้ได้เพื่อนใหม่ ไม่ใช่ซื้อกันแล้วไม่คบ

กันอีกเลย ฉะนั้น ควรที่จะมีคุณธรรมกันทั้งคนซื้อและขาย ให้เหมาะสมพอดี คนขายก็ไม่ควรจะ ย้อมแมว หรือขายเอากำไรมากๆเกินควร

 

8.หลังจากได้รถแล้วสิ่งนึงที่เราไม่ควรที่ละเลยคืออุปกรณ์ป้องกันตัวครับเพราะรถพวกนี้มีโอการที่จะเกิดเหตุง่ายกว่ารถเล็กๆบ้านเราด้วยหลายๆ

สาเหตุการมีอุปกรณ์พวกนีจะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้พอสมควร 


เครดิต : pantip.com



***  สำคัญ  คือ ต้องดูรถให้ครอบคลุมตามรายการตรวจสอบ ตรวจเช็คตามรายการ ข้างต้น   ***



เช็คราคาเบื้องต้น


** ขอให้ได้รถ  สภาพดี  ราคา  เหมาะสม กับงบประมาณที่มีพอดีกับตัวเรา  และไม่เดือดร้อนคนรอบข้าง

 มีความสุขกับการขับขี่ ครับ  ช่วงนี้ รถใหม่ออกมาหลายรุ่น บางคนก็ Up CC. หรือความจำเป็นส่วนตัว  ราคาก็ขึ้นลงตามตลาด น่าสนใจครับ  
  **



เฉพาะสมาชิกเท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ กรุณา "เข้าสู่ระบบ" ก่อน เข้าสู่ระบบ
 
Online:  7
Visits:  4,240,944
Today:  4,733
PageView/Month:  11,292